เทศบาลตำบลบางปู

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

การชำระภาษี

User Rating: / 2
แย่ดีที่สุด 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่จัดเก็บตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเทศบาล อบต. จะเป็นผู้เรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะต้องชำระหรือเสียภาษีที่ดินที่สำนักงานเขต และในส่วนของเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ตามความเป็นจริงแล้ว ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นับว่าเป็นภาษีรูปแบบใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น และนำมาทดแทนการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ โดยปรับเปลี่ยนระบบให้มีความทันสมัย ลดความซับซ้อน และความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดนี้ คือที่มาของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 นั่นเอง

4 ประเภทของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ควรรู้
รูปแบบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นถูกแบ่งย่อยออกมาถึง 4 ประเภท คือ ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม, ภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย, ภาษีที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และภาษีที่ดินว่างเปล่า ทั้งหมดนี้ถูกจัดสรรตามประเภทรูปแบบการใช้งานของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โดยมีข้อกำหนดและอัตราภาษีที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 โดยอ้างอิงจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีการลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สูงถึง 15% ตามปีภาษี 2566 มาอัปเดตข้อมูลอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้ง 4 ประเภทไปพร้อมกันเลย

1. ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
คือภาษีสำหรับที่ดินที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม ซึ่งจะต้องเสียภาษีที่ดินในอัตรา 0.01 - 0.1% โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ผู้เสียภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในรูปแบบบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- ผู้เสียภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในรูปแบบบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- ผู้เสียภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในรูปแบบบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป

2. ภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
คือ ภาษีสำหรับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ซึ่งจะต้องเสียภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในอัตราตั้งแต่ 0.02 - 0.1% โดยแบ่งตามประเภทของเจ้าของที่ดิน ดังนี้
- ผู้เสียภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในรูปแบบบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- ผู้เสียภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในรูปแบบบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- ผู้เสียภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในรูปแบบบุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป

3. ภาษีที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม
คือ ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เชิงพาณิชย์ เช่น ออฟฟิศ สำนักงาน โรงแรม รวมถึงธุรกิจร้านอาหาร โดยมีอัตราเสียภาษีที่ดินตั้งแต่ 0.3 - 0.7%

4. ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
คือ ภาษีสำหรับที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ และปล่อยให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่รกร้าง โดยพื้นที่ส่วนนี้จะต้องเสียภาษีที่ดินว่างเปล่าตั้งแต่ 0.3 - 0.7% 

ผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
2. ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ (สามารถเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้)

เกร็ดความรู้เพิ่มเติมสำหรับผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. หากคุณเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จะต้องรับผิดชอบเรื่องการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีนั้นเป็นต้นไป
2. ในกรณีที่มีชื่อเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกันหลายท่าน ทุกท่านที่มีรายชื่อในโฉนดดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน
3. ในกรณีที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นคนละคนกัน การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบระหว่างที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามชื่อในโฉนดดังกล่าวนั่นเอง

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

นายกเทศมนตรี


นายกเทศมนตรีตำบลบางปู

ปลัดเทศบาลตำบลบางปู


ดร.สมเจตน์  ทองเทศ
ปลัดเทศบาล
โครงการตู้เขียว
วีดิโอแนะนำเทศบาล
กองทุน สสส.





ลิ้งค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
stng
ginfo
mict
bb01
bc
 
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย




-รวมลิ้งค์น่าสนใจ-