เทศบาลตำบลบางปู

ข้อมูลเทศบาล

wellcome

ข้อมูลเทศบาล

 

ลักษณะทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลเทศบาล

User Rating: / 3
แย่ดีที่สุด 

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร

เศรษฐกิจของเทศบาลแบ่งเป็น  3  สาขาหลัก  คือ  สาขาอุตสาหกรรม  สาขาเกษตรกรรม และสาขาการค้าและการบริการ  ที่ผ่านมาโครงสร้างเศรษฐกิจได้ปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น  ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยที่สำคัญ  ได้แก่  การขยายตัวของการลงทุน  การส่งออก  และการท่องเที่ยว เป็นต้น

  1. สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่  อุตสาหกรรมก่อสร้าง  ไฟฟ้า  ประปา
  2. สาขาเกษตรกรรม ได้แก่  การกสิกรรม  การประมง  การบริการทางการเกษตร   การแปรรูปสินค้าเกษตร
  3. สาขาการค้าและการบริการ ได้แก่  การคมนาคมขนส่ง  การค้าส่งและ  ค้าปลีก  ธนาคาร  อสังหาริมทรัพย์  ที่อยู่อาศัย  การบริหารราชการ  และการบริการ  โครงสร้างเศรษฐกิจของเทศบาลมีลักษณะที่เหมือนกับโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการ  กรุงเทพมหานคร  และปริมณฑล  ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตในอัตราส่วนเพิ่มขึ้น  ในขณะที่ภาคเกษตรมีอัตราส่วนลดลง

 

ลักษณะอาชีพ

การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาล  แต่เดิมส่วนใหญ่ทำนาข้าว  ทำการประมง  แต่ในปัจจุบันได้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา  ทั้งนี้เพราะการทำนาข้าวไม่ได้ผล  เนื่องจากมีศัตรูข้าวมารบกวนมาก  และเก็บเกี่ยวได้เพียงฤดูเดียว  จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงปลาและเลี้ยงกุ้ง  ซึ่งได้ผลและแน่นอนกว่า  นอกจากนั้นฝั่งทะเลน้ำเค็ม  ราษฎรยังสามารถประกอบอาชีพการประมง  จับกุ้ง  จับปลาในทะเล  ทำกะปิ  น้ำปลา  ออกจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม

เมื่อรัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณเขตเทศบาลตำบลบางปู  ตามแนวถนนสุขุมวิทเป็นเขตย่านอุตสาหกรรม  และมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น  ราษฎรจึงหันมาประกอบอาชีพตามโรงงาน  จึงทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง  ค้าขาย  และอื่น ๆ

 

ด้านเกษตรกรรม

ในอดีตพื้นที่เทศบาลมีสภาพที่เหมาะสมต่อการทำอาชีพทางการเกษตร  เพราะมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม  แต่ในขณะเดียวกันสภาพความได้เปรียบในการเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางเรือ รวมทั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก  ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว  จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินจากที่ดินเพื่อการเกษตรมาเป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม   ที่พักอาศัย  ประกอบธุรกิจการค้า  การพาณิชยกรรม  ซึ่งส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้น  รวมทั้งเกษตรกรบางรายได้ขายที่ดินการเกษตรให้นายทุน  ดังนั้นพื้นที่เพื่อการเกษตรจึงลดลงเป็นลำดับ  ประกอบกับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนมักได้รับความเสียหายจากน้ำเสีย  และสารพิษที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ  ทั้งคลองชลประทาน  และแหล่งน้ำธรรมชาติ  ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเกษตร  โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาและการประมง

ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่  กระท้อน  กล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม  ขนุน  ชมพู่    ตะลิงปิง  ทับทิม  น้อยหน่า  และฝรั่ง

 

การเกษตรกรรมในเขตเทศบาลแยกได้ดังนี้

1. พื้นที่ถือครองทั้งหมด 51,801 ไร่
2. พื้นที่การเกษตร 10,580 ไร่
3. ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรม 240 ครัวเรือน
4. พื้นที่ไม้ผล  2,630 ไร่
       

การพาณิชยกรรมและบริการ

ด้านพาณิชยกรรม/การบริการ  เป็นด้านที่มีความสำคัญต่อเทศบาล  กิจการประเภทบริษัท  ห้างหุ้นส่วน  เพื่อเป็นการตอบสนองให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาล  ทั้งด้านการค้าส่งและการค้าปลีก  นอกจากนี้ธุรกิจประเภทธนาคารและอสังหาริมทรัพย์  ก็มีความสำคัญเช่นกัน     สืบเนื่องจากมีการซื้อขายเปลี่ยนแปลงการเป็นเจ้าของที่ดินจากเกษตรกร  เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินเป็นประเภทอื่นๆ  รวมทั้งธุรกิจประเภทการบริการและการขนส่ง

ทิศทางการค้าและการบริการในอนาคต  มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเทศบาล  ทั้งนี้จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดหน้าด่านของกรุงเทพมหานครกับภาคตะวันออก  จึงทำให้เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจการค้า/การบริการที่สำคัญ  อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก  จังหวัดสมุทรปราการเป็นที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์นานาชาติอันดับสองของประเทศในอนาคต

สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม

ตลาดสด

ตลาดสด  มี  6   แห่ง (เอกชน)

สถานีบริการเชื้อเพลิง

สถานีบริการเชื้อเพลิง มี   8   แห่ง

1. ปั๊ม ป.ต.ท. หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายบ้าน
2. ปั๊มเชลล์   หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายบ้าน
3. ปั๊มเจท หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
4. ปั๊มเชลล์  หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
5. ปั๊มคาลเท็กซ์ หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายบ้านใหม่
6. ปั๊มคาลเท็กซ์ หมู่ที่ 2 ตำบลบางปูใหม่
7. ปั๊มบางจาก หมู่ที่ 2 ตำบลบางปูใหม่
8. ปั๊มเอสโซ่ หมู่ที่ 6 ตำบลบางปูใหม่
       

 

สถานประกอบการเทศพาณิชย์

โรงฆ่าสัตว์

โรงฆ่าสัตว์มี  2  แห่ง  (เทศบาล  1  แห่ง  ,  เอกชน  1  แห่ง)

สถานประกอบการด้านบริการ

โรงแรม

โรงแรมและสถานที่พัก  มี  2  แห่ง

  1.   โรงแรมบางปูอินน์  มี  98  ห้อง  อยู่ในพื้นที่  หมู่ที่  2  ตำบลบางปูใหม่  ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมบางปู
  2.   โรงแรม  444  มี  73  ห้อง  อยู่ในพื้นที่  หมู่  1  ตำบลบางปูใหม่  ตรงข้ามเมืองโบราณ

สถานบริการร้านอาหาร

ร้านอาหาร  มี  11  แห่ง

1. ร้านซีฟู้ด หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
2. ร้านอาหารเพชรศรีฟ้า หมู่ที่ 2 ตำบลท้ายบ้าน
3. ร้านอาหารภูมิ หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
4. ร้านอาหารนายหมา หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
5. ร้านอาหารในสถานตากอากาศบางปู หมู่ที่ 2 ตำบลบางปูใหม่
6. ร้านอาหารสวนวัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลบางปูใหม่
7. ร้านอาหารบุญรอด หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
8. ร้านอาหารง่วนเฮง หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
9. ร้านอาหารโพธิ์ทะเล หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
10. ร้านอาหารพลอยทะเล หมู่ที่ 1 ตำบลบางปูใหม่
11. ร้านอาหารบัวตอง หมู่ที่ 2 ตำบลบางปู

สถาบันการเงิน

ธนาคารพาณิชย์ มี 7 แห่ง

  1. ธนาคารกสิกรไทย
  2. ธนาคารไทยพาณิชย์
  3. ธนาคารกรุงไทย
  4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาตำบลท้ายบ้านใหม่
  5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาตำบลบางปูใหม่
  6. ธนาคารนครหลวงไทย
  7. ธนาคารศรีนคร

สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข

สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข  มีจำนวน   57     แห่ง

สถานที่สะสมอาหาร  429   แห่ง

การอุตสาหกรรม

พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู  มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม  เพราะมีความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากจังหวัดสมุทรปราการไปยังท่าเรือในกรุงเทพมหานคร  ตลอดจนสามารถหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตทางด้านวัตถุดิบและอื่น ๆ  ส่งผลให้นักลงทุนสนใจมาลงทุน  ทำให้เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของจังหวัด  และจากการเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม  ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก  จึงมีแรงงานหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในเขตเทศบาลมากเช่นกัน  ทำให้เกิดความต้องการด้านสินค้า  การบริการ  การขนส่ง  อีกทั้งความต้องการด้านที่พักอาศัย  มีการขยายตัวเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม  ดังนั้นนอกจากการอุตสาหกรรมเป็นด้านที่สำคัญ  และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เทศบาลมากกว่าการประกอบการด้านอื่น ๆ  แล้วยังมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ  ได้แก่  การสาธารณูปโภค  การค้า  การคมนาคมขนส่ง  การก่อสร้าง  และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  เป็นต้น  โดยพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่

นิคมอุตสาหกรรมบางปู

เนื้อที่ทั้งหมดของนิคมอุตสาหกรรมบางปู  มีจำนวน  4,000  ไร่  อยู่ในความรับผิดชอบที่เชื่อมต่อกันระหว่างเทศบาลตำบลบางปู  เทศบาลตำบลแพรกษา  และองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา  แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไปประมาณ  3,400 ไร่  เขตอุตสาหกรรมส่งออกประมาณ  270  ไร่  เขตพาณิชยกรรม  และที่อยู่อาศัยประมาณ  250  ไร่  ที่เหลือเป็นพื้นที่สาธารณูปโภคและโรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง  การร่วมลงทุนแบ่งเขตได้ดังต่อไปนี้

ข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม      มีโรงงานอุตสาหกรรม    รวม 412   ราย    (ผู้ที่มาขอต่อใบอนุญาต)   แยกได้ดังนี้

 

โรงงานผลิตเหล็กและอุปกรณ์   69 แห่ง  
โรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ไฟฟ้า 11 แห่ง  
โรงงานผลิตของใช้ด้วยพลาสติก    12 แห่ง  
โรงงานผลิตสารเคมี และยาฆ่าแมลง  23 แห่ง  
โรงงานสะสมน้ำมันเชื้อเพลิง  6 แห่ง  
โรงงานอุตสาหกรรมรวม    8 แห่ง  
โรงงานผลิตอุตสาหกรรมก่อสร้าง   7 แห่ง  
โรงงานผลิตอลูมิเนียม     6 แห่ง  
โรงงานสะสม แก๊ส    10 แห่ง  
โรงงานทอผ้า   35 แห่ง  
กลุ่มโรงงานฟอกหนัง    99 แห่ง  
กลุ่มผลิตอาหาร     30 แห่ง  
กลุ่มอื่น ๆ รวมทั่วไป   96 แห่ง  
       

 

   

โครงสร้างพื้นฐาน

ข้อมูลเทศบาล

การคมนาคม

ในเขตเทศบาลตำบลบางปู มีเส้นทางการคมนาคมทั้งทางบก  และทางน้ำ

การคมนาคมทางบก

  1. ถนนสุขุมวิท  เป็นทางหลวงแผ่นดินผ่านกลางเทศบาล  มีระยะทางยาวประมาณ 21.5  กิโลเมตร  โดยเริ่มต้นจากกิโลเมตรที่  29.250  ผ่านท้องที่ตำบลท้ายบ้าน  ตำบลท้ายบ้านใหม่  ตำบลบางปู  และตำบลบางปูใหม่  สิ้นสุดกิโลเมตรที่  51.150
  2. ถนนสายปากน้ำ-ท้ายบ้าน  (หาดอมรา)  เริ่มต้นจากคลองตาพร  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นถนนมาตรฐาน  อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง  จดชายทะเล  ความยาวประมาณ  2.5กิโลเมตร  ซึ่งเรียกว่า  “หาดอมรา”
  3. ถนนบางปิ้ง-แพรกษา  (พุทธรักษา)  เป็นทางหลวงแผ่นดินผ่านท้องที่ตำบลท้ายบ้านใหม่ไปจดตำบลแพรกษา  ซึ่งเป็นถนนของกรมทางหลวง
  4. ถนนตำหรุ-บางพลี  เป็นถนนที่สร้างขึ้นโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท  เป็นเส้นทางลัดจากถนนสุขุมวิทออกสู่ถนนบางนา-ตราด  ในเขตพื้นที่อำเภอบางพลี

ถนน

  • ถนนที่เทศบาลรับผิดชอบ มีจำนวนทั้งหมด   241  สาย        มีความยาวรวมทั้งหมด   9,626.63      กิโลเมตร

การคมนาคมทางน้ำ

  • แม่น้ำเจ้าพระยาจดทะเล  เชื่อมต่อกับจังหวัดชลบุรี
  • คลองชลประทานเลียบถนนสุขุมวิท  เชื่อมต่อเขตพื้นที่ตำบลคลองด่านและ  อำเภอบางพลี
  • คลองแพรกษา  เชื่อมต่อคลองชลประทานเลียบถนนและเขตตำบลแพรกษา
  • คลองบางปลา  เชื่อมต่อคลองชลประทานและเขตตำบลบางพลี

การจราจร

เทศบาลตำบลบางปู  มีการขยายตัวด้านประชากร  ที่พักอาศัย  โรงงานอุตสาหกรรม การค้า  การบริการต่าง ๆ  ทำให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว  ขณะเดียวกันการคมนาคมขนส่งมีถนนสายหลักไม่กี่สาย  เช่น  ถนนสุขุมวิท  เป็นถนนสายหลักที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ  กับภาคตะวันออกของประเทศไทย  ซึ่งการจราจรค่อนข้างคับคั่ง  เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่  จำเป็นต้องใช้ในการขนส่งสินค้าและการเดินทางสัญจรไปมาของประชาชน  ทำให้ระบบคมนาคมขนส่งไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการ  ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจร  และความไม่สะดวกในการเดินทาง

การไฟฟ้า

การให้บริการด้านการไฟฟ้าในเขตเทศบาลบางปู  จะอยู่ในการควบคุมของ  การไฟฟ้านครหลวง  แบ่งเป็นเขตให้บริการ  2  แห่ง  ดังนี้

  • ­   สำนักงานเขตสมุทรปราการ  ถนนสุขุมวิท  อำเภอเมืองสมุทรปราการ   จังหวัดสมุทรปราการ
  • ­   สำนักงานเขตบางพลี  ถนนกิ่งแก้ว  อำเภอบางพลี  จังหวัดสมุทรปราการ

 การประปา

ในเขตเทศบาลตำบลบางปู  การให้บริการด้านประปาในอำนาจของเทศบาล  คือ  พื้นที่ตำบลบางปู    และตำบลบางปูใหม่  เท่านั้น      นอกจากนั้นยังอยู่ในการควบคุมดูแลของ    การประปานครหลวง        สำนักงานประปาสมุทรปราการ

การสื่อสาร/โทรคมนาคม

ไปรษณีย์โทรเลข

­   ไปรษณีย์โทรเลข  มี  1  แห่ง  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภายในเขตเทศบาล  สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง  คือ  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบางปู

โทรศัพท์

­  โทรศัพท์ ในเขตเทศบาลมีชุมสายโทรศัพท์ที่เปิดดำเนินการ  1  แห่ง  คือชุมสายโทรศัพท์บางปู  ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปู  อำเภอเมืองสมุทรปราการ  จังหวัดสมุทรปราการ

การใช้ที่ดิน

การใช้ที่ดินในปัจจุบันของพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลบางปู  มีลักษณะแบบผสม  โดยสามารถจำแนกประเภทการใช้ที่ดินที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้

­   ย่านที่พักอาศัย

จะแออัดหนาแน่นในเขตชุมชน  ซึ่งเป็นย่านธุรกิจการค้า  มีลักษณะที่พักอาศัยแบบผสม  คือ  เป็นบ้านเดี่ยว  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะตั้งถิ่นฐานในที่พักอาศัยเดิม  บ้านพักอาศัยแบบห้องแถว  ตึกแถว  รวมทั้งการพักอาศัยแบบอาคารชุด  ส่วนบริเวณรอบนอกออกไปจากชุมชน  จะเป็นที่พักอาศัยในที่ดินจัดสรร  หมู่บ้านจัดสรร  ส่วนพื้นที่รอบนอกจะเป็นการอยู่อาศัยแบบดั้งเดิมของประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การประมงตามแนวคลองต่าง ๆ  และริมชายฝั่งทะเล

 ­   ย่านการค้า

เนื่องจากเทศบาลมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม  ดังนั้นย่านการค้าจะรวมกลุ่มกันในชุมชนที่อยู่อาศัย  บริเวณใกล้เคียงเขตโรงงานอุตสาหกรรม และสองฝั่งของถนนสุขุมวิท

­   ย่านสถาบันการศึกษา

จะตั้งอยู่ริมถนนสายหลักเพื่อการเดินทางที่สะดวก  เช่น  วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ  โรงเรียนนวมินทราชูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ  ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

 ­   ย่านพักผ่อนหย่อนใจ

มีไม่มากนักเนื่องจากพื้นที่ถูกใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ  และพื้นที่ป่าชายเลน  ซึ่งเป็นที่ว่างเปล่า  สำหรับสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงในเทศบาล  ได้แก่   สวางคนิวาส    สถานพักฟื้นตากอากาศบางปู   ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์

เมืองโบราณ  นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานที่สำคัญ ได้แก่  วัดอโศการาม  เป็นต้น  แนวโน้มการขยายตัวการใช้ที่ดิน  จะมีทิศทางการขยายตัวตามทิศทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาสูง

   

ลักษณะที่ตั้ง

ข้อมูลเทศบาล

User Rating: / 4
แย่ดีที่สุด 

ที่ตั้งของเทศบาลตำบลบางปู


  ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลบางปู  เลขที่  789  หมู่ที่  1  ตำบลบางปูใหม่  อำเภอเมืองสมุทรปราการ  จังหวัดสมุทรปราการ  บนเนื้อที่  13,000 ตารางเมตร

อาณาเขต

       ด้านเหนือ 

         จากจุดซึ่งอยู่ห่างริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตรงปากคลองตาพรฝั่งใต้   100  เมตร  เส้นเขตเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่  1  ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองตาพรฝั่งใต้

  • จากหลักเขตที่ 1 เลียบตามริมคลองตาพรฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่  2  ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนท้ายบ้านฝั่งตะวันออก
  • จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตหลักที่  3  ตั้งอยู่ริมคลอง ชลประทานฝั่งตะวันออกตรงแนวเส้นตั้งฉากกับถนนสุขุมวิท  กิโลเมตรที่  29.250
  • จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามริมคลองชลประทานฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือ  ถึงหลักเขตที่  4  ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองแพรกษาฝั่งใต้
  • จากหลักเขตที่ 4 เลียบตามริมคลองแพรกษาฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่ 5  ซึ่งตั้งอยู่ปากลำรางฝั่งตะวันตก  ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลท้ายบ้านกับตำบลแพรกษา
  • จากหลักเขตที่ 5 เลียบตามริมลำรางฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้  ถึงหลักเขตที่  6  ซึ่งตั้งอยู่ ริมถนนพุทธรักษาฝั่งเหนือ
  • จากหลักเขตที่ 6 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลท้ายบ้านกับตำบลแพรกษาไปทางทิศใต้ ถึง หลัก  9  เขตที่  7  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองน้ำร้อนฝั่งใต้
  • จากหลักเขตที่ 7 เลียบตามริมคลองน้ำร้อนฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงปากคลองหลวงฝั่งตะวันตก  แล้วเลียบตามริมคลองหลวงฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้  ถึงหลักเขตที่  8    ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองตาตุ่มฝั่งใต้
  • จากหลักเขตที่ 8 เลียบตามริมคลองตาตุ่มฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงหลักเขต   ที่  9  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองตาชื้นฝั่งตะวันตก
  • จากหลักเขตที่ 9 เลียบตามริมคลองตาชื้นฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  แล้วเลียบตามริมลำรางตาชื้นฝั่งใต้  ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลบางปูใหม่กับตำบลแพรกษาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ถึงหลักเขตที่  10  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองแพรกจอมทอง  ฝั่งตะวันตก
  • จากหลักเขตที่ 10 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลบางปูใหม่กับตำบลแพรกษาไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่  11  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองหัวลำภูฝั่งตะวันตก  ตรงปากลำรางฝั่งใต้ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตตำบลบางปูใหม่กับตำบลแพรกษา
  • จากหลักเขตที่ 11 เลียบตามลำรางฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออก  แล้วเลียบตามริมคลองหัวต่อฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือ  และเลียบตามริมลำรางฝั่งใต้  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตตำบลบางปูใหม่กับตำบลแพรกษาไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่  12  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสลัด  ฝั่งตะวันตก
  • จากหลักเขตที่ 12 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลบางปูใหม่กับตำบลแพรกษาไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่  13  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองยายจิ๋วฝั่งตะวันออกตรงปากลำตากุดฝั่งใต้
  • จากหลักเขตที่ 13 เลียบตามริมลำตากุดฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออก  แล้วเลียบตามริมคลองตำหรุเก่าฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือ  และเลียบตามริมคลองลัดตำหรุไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางปลาฝั่งตะวันออกตรงปากคลองลัดบางปูฝั่งใต้
  • จากหลักเขตที่ 14 เลียบตามริมคลองลัดบางปูฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออก  ถึงหลักเขตที่  15  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองเกลือฝั่งตะวันตก

    ด้านตะวันตก

  • จากหลักเขตที่ 15 เลียบตามคลองเกลือฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่  16  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองชลประทานฝั่งเหนือ
  • จากหลักเขตที่ 16 เลียบตามริมคลองชลประทานฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่  17  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองชลประทานฝั่งเหนือตรงแนวเส้นตั้งฉากจากถนนสุขุมวิท  กิโลเมตรที่  51.150
  • จากหลักเขตที่ 17 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านถนนสุขุมวิทตรง กิโลเมตรที่  51.150  แล้วเลียบตามริมถนนสุขุมวิทฝั่งใต้ถึงกิโลเมตรที่  51  แล้วเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่  18  ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองไม้รั้วฝั่งตะวันตก  ตรงเส้นแบ่งเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการกับอำเภอบางบ่อ
  • จากหลักเขตที่ 18 เลียบตามริมคลองไม้รั้วฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่  19 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล
  • จากหลักเขตที่ 19 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้   ถึงจุดซึ่งอยู่ห่างจากริมฝั่งทะเล   100  เมตร

    ด้านใต้และด้านตะวันตก

          จากจุดซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งทะเลตรงปากคลองไม้รั้วฝั่งตะวันตก  100  เมตร  เป็นเส้นขนานกับริมฝั่งทะเลไปทางทิศตะวันตก  แล้วเป็นเส้นขนานกับริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกไปบรรจบจุดซึ่งอยู่ห่างจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก  ตรงหลักเขตที่  1  ระยะ  100  เมตร



 


   

ประวัติและตราสัญญลักษณ์

ข้อมูลเทศบาล

User Rating: / 7
แย่ดีที่สุด 

ประวัติและความเป็นมา

               เทศบาลตำบลบางปูได้รับการยกฐานะตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของ สุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ มีผลทำให้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลบางปูเป็นเทศบาลตำบลบางปู เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒

               เดิมสุขาภิบาลบางปูเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในเขตการปกครองอำเภอเมืองสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการได้จัดตั้งเป็น สุขาภิบาลตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๐๘ รวมระยะเวลาในการเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลถึง ๓๓ ปี ๙ เดือน ๒๓ วัน มีนายประสิทธิ์ จังประเสริฐ เป็น ประธานกรรมการสุขาภิบาล คนแรก และนายสด ชูไสว เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาล คนสุดท้าย

 

ตราสัญลักษณ์ เทศบาลตำบลบางปู

             ตราประจำเทศบาลตำบลบางปูเป็นรูปปูชายทะเลและเรือประมง หมายถึง พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู ส่วนใหญ่มีสภาพติดชายทะเลเป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปูทะเล ความอุดมสมบูรณ์นี้ จึงถือเป็นอาชีพหลักของประชาชน ในพื้นที่ ได้แก่ การประมง นอกจากนี้ ชายทะเลในเขตเทศบาลตำบลบางปู ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว อากาศดี สามารถมองเห็นหมู่เกาะต่าง ๆ ในจังหวัดชลบุรี รวมทั้งเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

   

บทความ อื่นๆ ...

หน้า 8 จาก 9

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

นายกเทศมนตรี


นายกเทศมนตรีตำบลบางปู

ปลัดเทศบาลตำบลบางปู


ดร.สมเจตน์  ทองเทศ
ปลัดเทศบาล
โครงการตู้เขียว
วีดิโอแนะนำเทศบาล
กองทุน สสส.





ลิ้งค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
stng
ginfo
mict
bb01
bc
 
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย




-รวมลิ้งค์น่าสนใจ-